วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

จุดไม่ลับ ของพระเปิมลำพูน

จุดไม่ลับ ของพระเปิมลำพูน









1.มีเส้นแตกเป็นร่องตรงก้าน  โพธิ์ทุกองค์ต้องมี 
2.มีตั้งขีดใต้ใบโพธิ์ บนไหล่ซ้าย องค์พระ 2 ขีด
3.มีติ่งขีดข้างแขนซ้ายขององค์พระ

สามจุดสามารถพิจารณาประกอบร่วมกับจุดอื่น






 
รูปภาพมาจาก
http://group.wunjun.com/25amulet/topic/376910-11532


วิธีดูพระเปิม ลําพูน

วิธีดูพระเปิม ลําพูน 






พระเปิมมีรายละเอียดและหน้าตาที่ชัดเจน








สังเกตที่ติ่งหูปลายตวัดขึ้น














พระเปิมจะมีขีด1 ขีด ตรงข้างหู 1 ขีด

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

พระเปิมกรุดอนไซ

พระเปิมกรุดอนไซ
พระเปิมมีเม็ดพระธาตุ กรุดอยไซ สร้างโดยสุกกทันตฤาษี เมื่อพ.ศ. 1082 พบที่บริเวณปากถ้ำวัดดอยไซ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน สร้างด้วยธาตุดิน เป็นพระธาตุของฤาษีสัญชัย ซึ่งมีส่วนผสมของพระธาตุถึง 50% และมีเม็ดพระธาตุ จึงมีพุทธานุภาพสูงมาก







พระเปิมกรุดอนไซ

เม็ดพระธาตุ กรุดอยไซ สร้างเมื่อ พ.ศ.300 ที่ประเทศอินเดีย สร้างด้วยเม็ดพระธาตุ เป็นของฤาษีพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี จึงมีพุทธานุภาพสูงมาก พระมหายานขนมาที่ลำพูนเมื่อ พ.ศ. 1205 พบที่บริเวณปากถ้ำวัดดอยไซ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน

พระเปิมลําพูน กรุเจดีย์ปทุมวดี

พระเปิมลําพูน กรุเจดีย์ปทุมวดี
คือกรุวัดพระธาตุหริภุญชัยครับ   ซึ่งภายในวัดจะมีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมชื่อว่าเจดีย์ปทุมวดี


วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

พระเปิมกรุดอนแก้ว

พระเปิมกรุดอนแก้ว
พระเปิมเป็นพระที่ขุดพบที่วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของร.ร. เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทราย ปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก

การขุดหาพระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้ว ในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วย การขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระเจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

พระลำพูน พระเปิม

พระลำพูน พระเปิม
พระเปิม
พระเครื่องสกุลลำพูนที่รู้จักและนิยมสะสมก็มีอีกมากมาย หากไม่นับพระรอดที่เป็นพระเบญจภาคีแล้ว ยังมีพระคง พระบาง พระเปิม พระเลี่ยง(เหลี้ยม) พระลือ เป็นต้น แต่ยอดนิยมฮิตติดอันดับที่พบเห็นบ่อย ส่วนใหญ่คือ พระคง พระเปิม พระบาง นั่นเอง
การค้นพบ ขึ้นทุกที่และพบทั่วไปเหมือนพระคง
กรุที่สำคัญ
1.กรุเจดีเหลี่ยม ในวัดพระธาตุหริภุญไชย(วัดหลวง) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ ห่างกันประมาณ 80 เมตร ประมาณเดือนตุลาคม 2516 ฐานเจดีย์ทรุดลงมา ก็ได้ค้นพบพระเปิม ซึ่งมีลักษณะหลังปาดไม่ค่อยเรียบร้อย
2.กรุวัดดอนแก้วหรือวัดดอกแก้ว (เป็นวัดร้างมีแต่ซากปรักหักพัง) กรุนี้เป็นกรุที่พบพระเปิมจำนวนมาก พระส่วนใหญ่ที่ค้นพบเนื้อจะละเอียด-ซุย ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบแบน
3.กรุวัดจามเทวี พบบนสุวรรณจังโกฏ-เจดีย์ (เป็นเจดีย์ที่เชื่อกันว่าพระนางจามเทวีเป็นผู้สร้าง) สันนิษฐานว่าเป็นพระฝากกรุ ด้านหลังแบน เนื้อค่อนข้างหยาบ ผิวรานระแหงและปรากฏเม็ดแร่ลอย ทั้งๆที่เป็นพระที่ได้ผ่านการใช้ เหตุที่เป็นเช่นนี้มีปัจจัยที่สนับสนุน คือ พระกรุนี้ถูกบรรจุในเจดีย์ด้านบนได้รับความร้อนตลอด ความชื้นน้อยมาก
4.กรุพิเศษ กรุวัดมหาวัน พิเศษตรงที่เป็นกรุที่มีพระสกุลลำพูนแทบทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่เป็นพระฝากกรุ (ยกเว้นพระรอดที่สร้างขึ้นที่นี่) ลักษณะที่พบ คือ เนื้อจะละเอียด แน่น เนียน มีความหนึกนุ่ม สังเกตเห็นรารักขึ้นประปราย สันนิฐานว่าเป็นผลจากด้านธรณีวิทยา เพราะบริเวณนี้จะเป็นดินที่มีความชื้นสูง
นอกจากนี้ยังคงพบได้จากกรุอื่นๆ เช่น กรุวัดพระคง กรุประตูลี้ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

ทำไมถึงเรียกว่าพระเปิม

ทำไมถึงเรียกว่าพระเปิม 
ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่าแป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอดหมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือเลี่ยม หมายถึงแหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น

พระเปิมลำพูน เป็นพระกรุเก่าแก่ มีพุทธคุณดีครบทุกด้านครับ เด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในสังคมวงการพระเครื่องนั้นนิยมพระเปิมเช่นกัน และปัจจุบันเป็นพระที่หาพระแท้ๆ ยากพอสมควรครับ และผมได้นำรูปพระเปิมมาให้ท่านได้ชมกันหนึ่งรูปครับ